สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 กันยายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,635 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,651 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,163 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,060 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,810 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,350 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.65
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,029 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,347 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 682 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,142 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,637 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 505 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,687 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,855 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 832 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.3549 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย : อานิสงส์ “อินเดีย” เก็บภาษีส่งออก ดันราคาข้าวเปลือกเขียวทั้งกระดาน
ชาวนาเฮลั่น ราคาข้าวเปลือกไทยดีดแรงยกกระดาน นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ราคาข้าวสารขยับพุ่งตันละ 500 บาท ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกขยับเขียวทั้งกระดาน ขณะที่นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผยปัจจัยบวกจากข่าว “อินเดีย” เก็บภาษีส่งออกร้อยละ 20 ทำให้ตลาดตื่น คาดราคาข้าวอินเดียแพง คู่ค้าอาจจะหันมาซื้อข้าวไทยแทน
นายรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ราคาข้าวเปลือก ณ วันที่
9 กันยายน 2565 เขียวทั้งกระดาน สืบเนื่องจากผู้ส่งออกได้มีการปรับราคาข้าวสารขึ้นตันละ 500 บาท และเมื่อแจ้งราคาขึ้น โรงสีทั่วประเทศได้ปรับราคาข้าวเปลือกขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามทันที ทั้งนี้ ต้องถามผู้ส่งออกว่าปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้ราคาปรับขึ้น ถือว่าเป็นการปรับราคาที่ค่อนข้างแรงมาก
ด้านนายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผยถึงสาเหตุที่ราคาข้าวสารปรับขึ้น น่าจะเป็นเพราะได้รับข่าวจากกระทรวงการคลังอินเดีย ที่ประกาศเมื่อวานนี้ (8 กันยายน 2565) ว่า อินเดียจะเพิ่มภาษีส่งออกร้อยละ 20 ทำให้มีการคาดคะเนว่าราคาข้าวอินเดียจะแพงขึ้น อาจจะทำให้ต่างประเทศเปลี่ยนมาซื้อข้าวไทยแทน ทั้งนี้ จากที่อินเดียเพิ่มภาษี ทำให้ราคาข้าวใกล้เคียงกับราคาข้าวไทย จึงเชื่อว่าจะส่งผลให้การแข่งขันของไทยดีขึ้น
ที่มา ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
 
ญี่ปุ่น
กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (the Ministry of Agriculture, Fisheries and Forests; MAFF) ได้ประกาศเปิดการประมูลนําเข้าข้าวแบบ CPTPP Simultaneous Buy and Sell (SBS) tender ครั้งที่ 4 ของปีงบประมาณ 2565/66 (1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566) ในวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวจากประเทศสมาชิกกลุ่ม CPTPP จำนวน 25,000 ตัน ทั้งนี้ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
(The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership; CPTPP) เป็นความตกลง การค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่าง ประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไก แก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2549 มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐฯ ถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2560 ประเทศสมาชิกที่เหลือได้ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบันสมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรูชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
ปากีสถาน
มีรายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวปากีสถานต่างกังวลว่า การส่งออกข้าวในปีงบประมาณปัจจุบันจะลดลง หลังจากเกิดน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย
นาย Muhammad Anwar Mianoor รองประธานอาวุโสของสมาคมผู้ส่งออกข้าวแห่งปากีสถาน (Senior Vice Chairman of Rice Exporters Association of Pakistan; REAP) กล่าวว่า น้ำท่วมได้สร้างความเสียหายต่อ พืชผลไปหลายพันเอเคอร์แล้ว ซึ่งภัยพิบัติครั้งนี้มีขนาดใหญ่มาก และจะต้องใช้เวลาในการประเมินความสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ข้าวที่มีการเก็บสต็อกไว้และกําลังเตรียมจะส่งออกอาจจะไม่เพียงพอที่จะป้อนตลาด
หากไม่ได้รับข้าวเพิ่มเติมภายในสิ้นฤดูกาลปัจจุบัน
ปากีสถานอาจจะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนข้าวเพื่อส่งออกภายในเดือนมกราคม 2566 เนื่องจากพืชผล
ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายบางส่วนจากอุทกภัยครั้งรุนแรง
ทั้งนี้ ตามปกติฤดูการปลูกข้าวจะพร้อมเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และข้าวฤดูใหม่จะออกสู่ตลาดในเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้ หมายความว่าอาจจะมีข้าวในเดือนธันวาคมเหลือน้อยมาก
ขณะที่ผู้แทนของสมาคมผู้ส่งออกข้าวแห่งปากีสถาน กล่าวว่า ผลผลิตข้าวที่ลดลงไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศด้วย และเตือนว่าราคาข้าวสำหรับผู้บริโภคในท้องถิ่น
ก็อาจจะสูงขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ ในปีนี้ไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกข้าวเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้ แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตรอื่นๆ ก็มีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับผลผลิตฝ้ายที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยเช่นกัน เนื่องจากภาคส่วนสิ่งทอจะได้ผลผลิตฝ้ายน้อยลงสำหรับนําไปทำผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอ จะต้องมีการนําเข้าฝ้ายมากขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งปากีสถาน (the Pakistan Bureau of Statistics; PBS) รายงานว่า ในปีงบประมาณ 2563/64 การส่งออกข้าวของปากีสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับการส่งออกในปี 2562/63 และในช่วงปีงบประมาณ 2564/65 มีการส่งออกข้าวมากกว่า 4.877 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.511 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณ 3.684 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.041 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563/64 โดยส่งออกข้าวบาสมาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.09 จากปีงบประมาณ 2562/63 และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 569.493 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 695.318 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563/64 และส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติมากกว่า 4.126 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.181 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563/64 ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวน 3.065 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.473 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2562/63
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์การผลิตข้าวของปากีสถานในปีการตลาด 2565/66 จะอยู่ที่ ประมาณ 8.4 ล้านตันข้าวสาร ลดลงประมาณ 0.5 ล้านตันข้าวสาร หรือประมาณร้อยละ 6 จากคาดการณ์เมื่อเดือนที่แล้ว และลดลงประมาณ 0.9 ล้านตันข้าวสาร หรือประมาณร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของฤดูกาลที่แล้ว โดยคาดว่าจะมี พื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 20 ล้านไร่ ลดลงประมาณ 1.88 ล้านไร่ หรือลดลงประมาณร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของ ฤดูกาลที่แล้ว (ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์) โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่จะอยู่ที่ประมาณ 630 กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับคาดการณ์เมื่อเดือนที่แล้วและฤดูกาลที่แล้ว
ทั้งนี้ สาเหตุที่มีการประเมินพื้นที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปากีสถานกําลังเผชิญกับภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โดยพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของปากีสถานต้องจมอยู่ใต้น้ำและทำให้พื้นที่การผลิตข้าวทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นสินธุ (Sindh) และพื้นที่บางส่วนในรัฐปัญจาบ (Punjab) ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งจากการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ในปีการตลาด 2565/66 คาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวจะลดลงประมาณร้อยละ 6 จากที่คาดการณ์เมื่อเดือนที่แล้ว โดยลดลงเหลือประมาณ 20 ล้านไร่ ซึ่งหากน้ำท่วมลดลงอย่างรวดเร็ว อาจจะทำให้การผลิตข้าวในพื้นที่เหล่านี้บางส่วนสามารถฟื้นตัวได้
ทั้งนี้ ปากีสถานถือเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวบาสมาติและข้าวขาวสายพันธุ์ IRRI (ข้าวเมล็ดยาวสีขาว) ซึ่งข้าวถือเป็นธัญพืชอันดับ 2 ในหมู่พืชอาหารหลักในปากีสถาน และยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้หลักจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยปากีสถานมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่สำคัญใน 2 รัฐ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหลัก ได้แก่ ปัญจาบ และสินธุ (Punjab, Sindh) ซึ่งทั้ง 2 รัฐ มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 90 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด และรัฐปัญจาบ ยังมีสภาพอากาศและสภาพดินทางการเกษตรที่เหมาะสมจนสามารถผลิตข้าวบาสมาติได้เพียงแห่งเดียวของประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.77บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,881.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 320.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,603.00 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 278.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 697.00 เซนต์ (10,095.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 683.00 เซนต์ (9,863.00 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.05 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 232.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนกันยายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.42 ล้านตัน (ร้อยละ 4.08 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.67 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.98 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.01 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.43
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.98 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.20 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.39
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.14 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,850 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,080 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.82
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,880 บาทต่อตัน)
ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 492 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,030 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.41

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.315 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.237 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.511 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.272 ล้านตันของเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 12.97 และร้อยละ 12.87 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.08 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.57 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.75 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.30 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.65                                   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียลดลงมากขึ้นตามราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ลดลงและความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยราคาซื้อขายอ้างอิง เดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 2.07 เหลือตันละ 3,776 ริงกิตมาเลเซีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,710.69 ริงกิตมาเลเซีย (30.48 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,631.65 ริงกิตมาเลเซีย (29.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.18  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,067 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.25 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.13
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ


          ในวันที่ 13 กันยายน ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดลอนดอนสัญญาเดือนตุลาคม ปรับขึ้นถึงระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยนักวิเคราะห์ กล่าวว่า เมื่อสิ้นสุดการซื้อขายอาจจะมีปริมาณส่งมอบน้ำตาลที่ประมาณ 200,000 ตัน
          สมาคมผู้จัดหาอ้อยแห่งรัฐเปร์นัมบูกูบราซิล (AFCP) กล่าวว่า ราคาอ้อยในรัฐลดลงเหลือ 166 เรียล/ตัน (32 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) เนื่องจากราคาเอทานอลลดลง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่ 181 เรียล/ตัน (35 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) โดยได้เข้าพบกับสหภาพชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Unida) เพื่อจัดทำแผนและขอความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตร




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,497.52 เซนต์ (20.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,479.05 เซนต์ (19.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 452.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.63 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 434.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.03
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.57 เซนต์ (56.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 68.94 เซนต์ (55.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21.07
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 966.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 742.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 743.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,297.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.17 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,299.00 ดอลลาร์สหรัฐ (47.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 854.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,263.80 ดอลลาร์สหรัฐ (45.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,265.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.92 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.21 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.13
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.34 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.94
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.50 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.64


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 106.02 เซนต์(กิโลกรัมละ 85.99 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 108.06 เซนต์ (กิโลกรัมละ 87.33 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.89 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.34 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,758 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,897 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,325 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,406 บาทคิดเป็นร้อยละ 5.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  104.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.13 คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 109.17 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.28 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 47.81 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 345 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 324 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 330 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 353 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 358 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 385 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 387 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 395 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 425 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.28 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 80.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.18 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12 - 18 กันยายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.26 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 57.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.43 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 80.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 138.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.23 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 132.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.36 บาท ราคาราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 72.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.71 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา